ความหมายของประเพณี
พระยาอนุมานราชธน ได้ให้ความหมายของคำว่าประเพณีไว้ว่า ประเพณี คือความประพฤติที่ชนหมู่หนึ่งอยู่ในที่แห่งหนึ่งถือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียวกัน
และสืบต่อกันมานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออกนอกแบบก็ผิดประเพณีหรือผิดจารีตประเพณี คำว่าประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถานได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า
ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆออกได้เป็น
ธรรมเนียม มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา
และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่าความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน
และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตาม
ความเป็นมาของประเพณี
ประเพณีมีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคม
ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยมโดยความเชื่อของคนในสังคมต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์นั้นๆ
เช่นอำนาจของดินฟ้าอากาศและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุต่างๆฉะนั้นเมื่อเวลาเกิดภัยพิบัติขึ้นมนุษย์จึงต้องอ้อนวอนร้องขอในสิ่งที่ตนคิดว่าจะช่วยได้พอภัยนั้นผ่านพ้นไปแล้ว
มนุษย์ก็แสดงความรู้คุณต่อสิ่งนั้นๆด้วยการทำพิธีบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
ตามความเชื่อ ความรู้ของตนเมื่อความประพฤติ
นั้นคนส่วนรวมสังคมยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมหรือเป็นระเบียบแบบแผน และทำจนเป็นพิมพ์เดียวกันสืบต่อๆกัน
จนกลายเป็นประเพณีของสังคมนั้นๆประเพณีและวัฒนธรรม
เมื่อว่าโดยเนื้อความก็เป็นสิ่งอย่างเดียวกัน คือเป็นสิ่งที่ไม่ใช่มีอยู่ในธรรมชาติโดยตรงแต่เป็นสิ่งที่สังคมหรือคนในส่วนรวมร่วมกันสร้างให้มีขึ้นแล้วถ่ายทอดให้แก่กันได้ด้วยลักษณะและวิธีการต่างๆว่าโดยเนื้อหาของประเพณีและวัฒนธรรมที่อยู่ในจิตใจของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องความคิดเห็น
ความรู้สึกความเชื่อ ซึ่งสะสมและสืบต่อร่วมกันมานานในส่วนรวม จนเกิดความเคยชินเรียกว่า
นิสัยสังคมหรือประเพณี ประเภทของประเพณี
นั้นคนส่วนรวมสังคมยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมหรือเป็นระเบียบแบบแผน และทำจนเป็นพิมพ์เดียวกันสืบต่อๆกัน

ประเภทของประเพณี
ประเภทของประเพณีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
จารีตประเพณี
จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หมายถึงสิ่งซึ่งสังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคงเป็นเรื่องของความผิดถูก
มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วยดังนั้นสมาชิกในสังคมต้องทำ
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่วจะต้องถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น
เช่นลูกหลานต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่าถ้าใครไม่เลี้ยงดูถือว่าเป็นคนเนรคุณหรือลูกอกตัญญูจารีตประเพณีของแต่ละสังคมนั้นย่อมไม่เหมือนกันเพราะมีค่านิยมที่ยึดถือต่างกันการนำเอาจารีตประเพณีของตนไปเปรียบเทียบกับของคนอื่นแล้วตัดสินว่าดีหรือเลวกว่าของตนย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เพราะสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมตลอดจนความเชื่อของแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันไป
ขนบประเพณี
ขนบประเพณี หรือสถาบัน หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบต่อกันมาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
ทางตรง ได้แก่ประเพณีที่มีการกำหนดเป็นระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติอย่างชัดแจ้งว่าบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร
เช่น สถาบันโรงเรียน มีโรงเรียน มีผู้สอน มีผู้เรียนมีระเบียบการรับสมัคร
การเข้าเรียน การสอบไล่ เป็นต้น ทางอ้อม ได้แก่ประเพณีที่รู้กันโดยทั่วๆไป
โดยไม่ได้วางระเบียบไว้แน่นอนแต่ปฏิบัติไปตามคำบอกเล่าหรือตัวอย่างจากที่ผู้ใหญ่หรือบุคคลในสังคมปฏิบัติ
เช่นประเพณีเกี่ยวกับการเกิด การตาย การแต่งงาน ซึ่งเป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิตหรือประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
ตรุษ สารท การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
ธรรมเนียมประเพณี
ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญที่ทุกคนควรทำมีความผิดถูกเหมือนจารีตประเพณีเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนปฏิบัติกันทั่วไปจนเกิดความเคยชินและไม่รู้สึกเป็นภาระหน้าที่เพราะเป็นสิ่งที่มีมานานและใช้กันอย่างแพร่หลายส่วนมากเป็นมารยาทในด้านต่างๆ
เช่น การแต่งกาย การพูด การรับประทานอาหารเป็นต้นธรรมเนียมประเพณีเป็นเรื่องที่ทุกคนควรทำแม้มีผู้ฝ่าฝืนหรือทำผิดก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญแต่อาจถูกตำหนิว่าเป็นคนไม่ได้รับการศึกษา
ไม่มีมารยาทไม่รู้จักกาลเทศะ