วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2561

สรุปประเพณีอีสาน


สรุป
  ประเพณีมีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยมโดยความเชื่อของคนในสังคมต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์นั้นๆ ตามความเชื่อ ความรู้ของตนเมื่อความประพฤตินั้นคนส่วนรวมสังคมยึดถือปฏิบัติเป็น
ธรรมเนียมหรือเป็นระเบียบแบบแผนและทำจนเป็นพิมพ์เดียวกันสืบต่อๆกันจนกลายเป็นประเพณีของสังคม ประเพณีและวัฒนธรรมเมื่อว่าโดยเนื้อความก็เป็นสิ่งอย่างเดียวกันคือเป็นสิ่งที่ไม่ใช่มีอยู่ในธรรมชาติโดยตรงแต่เป็นสิ่งที่สังคมหรือคนในส่วนรวมร่วมกันสร้างให้มีขึ้นแล้วถ่ายทอดให้แก่กันได้ด้วยลักษณะและวิธีการต่างๆว่าโดยเนื้อหาของประเพณีและวัฒนธรรมที่อยู่ในจิตใจของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องความคิดเห็น ความรู้สึกความเชื่อ ซึ่งสะสมและสืบต่อร่วมกันมานานในส่วนรวม จนเกิดความเคยชินเรียกว่า นิสัยสังคมหรือประเพณี ประเพณีทางภาคอีสานนี้ส่วนมากจะเน้นเรื่องความกตัญญูกตเวทีและความสามัคคีของคนในชุมชน ทั้งยังเป็นกุศโลบายในการสร้างคุณงามความดีทางพระพุทธศาสนา ประเพณีของชาวอีสานเป็นสิ่งที่คนอีสานเคารพ รัก และหวงแหนเป็นอย่างมาก
ฮีต 12 คอง 14 เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวอีสานที่ถือว่าต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดที่สืบทอดมจากบรรพบุรุษ ฮีตสิบสอง หมายถึง จารีตประเพณีประจำสิบสองเดือน ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ชาวบ้านจะได้มาร่วมชุมนุมและทำบุญในทุกๆ เดือนของรอบปี และถือเป็นจรรยาของสังคม ผู้ที่ฝ่าฝืนก็จะเป็นผู้ที่ ผิดฮีต หรือ ผิดจารีต นั่นเอง(หลายครั้ง ฮีตสิบสอง มักจะกล่าวควบคู่" คลองสิบสี่ "(คองสิบสี่) ที่เป็นดังแบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิต(คลอง=ครรลอง)แต่จะมุ่งเน้นไปทางศีลธรรมมากกว่าด้านอาชีพ) 
ในทุกวันนี้วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษถูกลืมเลือนไปเป็นอย่างมากจนบาประเพณีหาดูแทบไม่ได้แล้ว เช่น แต่ก่อนคนอีสานโบราณ เมื่อถึงวันพระก็จะพากันเข้าวัดฟังธรรม ถือศีล ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่นผู้ใหญ่หรือคนแก่ก็ตาม และในวันพระนั้นชาวอีสานแต่ก่อนจะถือว่าเป็นวันที่ทุกคนควรละเว้นจากการกระ
ทำความชั่วทั้งปวง วัฒนธรรมการถักทอเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มโดยสมัยก่อนคนอีสานโบราณจะทำเครื่องใช้ไม้สอย ขึ้นมาเองไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าอาภร อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนก็จะทำขึ้นมาเองทั้งนั้น แต่พอมาถึงทุกวันนี้จารีตประเพณีแต่เก่าก่อนได้ลบเลือนไปอย่างน่าเสียดายด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง

     ในเมื่อวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของบรรพบุรุษได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันดังนั้นหน้าที่การรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่งดงามนี้เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ควรรักษาเอาไว้ เช่น การศึกษาวัฒนธรรมประเพณีของบ้านเกิดเพื่อนำมาถ่ายทอดแก่ชนรุ่นหลัง การปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม การรักในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นต้น เพื่อเป็นการอนุรักษาและสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามนี้ให้คงอยู่ต่อไป

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

วัฒนธรรมของคนสมัยใหม่


วัฒนธรรมของสมัยใหม่
  วัฒนธรรมของไทยส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม ได้มีการสืบทอดวัฒนธรรมมากันตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันวัฒนธรรมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาเนื่องจากวัฒนธรรมไทยได้รับเอาอิทธิพลจากชาวต่างชาติเข้ามาทำให้วัยรุ่นไทยในปัจจุบันได้จดจำวัฒนธรรมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยให้ดีขึ้นโดยเน้นในเรื่องการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้วัยรุ่นไทยมีส่วนร่วมและปลูกฝังวัฒนธรรมที่ดีงามให้แก่วัยรุ่นดีงามให้แก่วัยรุ่นไทยในปัจจุบันได้ปฏิบัติตามเพื่อเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้แก่ประเทศไทย ให้ชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวเห็นถึงวัฒนธรรมที่ดีงามของประเทศไทยและประทับใจในวัฒนธรรมของไทย

  ในปัจจุบันเป็นยุคที่มีความเจริญของเทคโนโลยีที่คอยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้คนในทุกวันนี้เป็นอย่างมาก จนคนในปัจจุบันคล้อยตามอย่างมากจนเกินขีดของความจำเป็น ทำให้คนในสมัยนี้ไม่ค่อยให้ความใส่ใจและความสำคัญแก่สิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรม จนค่อยๆเลือนหายไปจากคนสมัยใหม่ทุกทีในส่วนมากแล้วคนในปัจจุบันส่วนใหญ่ได้รับเอาวัฒนธรรมของต่างประเทศเข้ามาใช้อย่างแพร่หลาย เช่นวัฒนธรรมการแต่งตัวของคนในยุคนี้ แตกต่างจากคนสมัยก่อนโดยที่คนสมัยก่อนจะแต่งกายเรียบร้อย นุ่งห่มมิดชิต แต่ในปัจจุบันนี้นิยมนุ่งน้อยห่มน้อย ผู้หญิงไม่แต่งตัวมิดชิดใส่กางเกงขาสั้น จนดูเป็นพฤติกรรมที่หวาดหวิว  การเจาะสิ่งต่างๆตามร่างกายซึ่งถือเป็นการทรมานตัวเอง
ซึ่งในสมัยก่อนอย่างมาก็แค่เจาะหู  และที่เป็นปัญหาใหญ่และพบเจอได้ในทุกเพศทุกวัยนั่นคือการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรซึ่งถือเป็นเรื่องไม่สำคัญเรื่องเล็กน้อยในทุกวันนี้ เป็นการนำเอาวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาใช้ในทางที่ผิด จึงเป็นสิ่งที่ทำให้วัฒนธรรมอันเป็นสิ่งที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษที่มีมาอย่างยาวนานนั้น ลบเลือนจางหายไปทุกวัน
           
           ในทุกวันนี้วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษถูกลืมเลือนไปเป็นอย่างมาก จนบางประเพณีหาดูแทบไม่ได้แล้ว เช่น แต่ก่อนคนอีสานโบราณ เมื่อถึงวันพระก็จะพากันเข้าวัดฟังธรรม ถือศีล ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่หรือคนแก่ก็ตาม และในวันพระนั้นชาวอีสานแต่ก่อนจะถือว่าเป็นวันที่ทุกคนควรละเว้นจากการกระทำความชั่วทั้งปวง วัฒนธรรมการถักทอเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม โดยสมัยก่อนคนอีสานโบราณจะทำเครื่องใช้ไม้สอยขึ้นมาเอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าอาภร อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน ก็ทำขึ้นมาใช้เองทั้งนั่น แต่พอมาถึงทุกวันนี้จารีตประเพณีแต่เก่าก่อนได้ลบเลือนไปอย่างน่าเสียดาย ด้วยเพราะปัจจัยหลายๆอย่าง
           ในเมื่อวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของบรรพบุรุษได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันดังนั้นหน้าที่การรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่งดงามนี้เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ควรรักษาเอาไว้ เช่น การศึกษาวัฒนธรรมประเพณีของบ้าน
เกิดเพื่อนำมาถ่ายทอดแก่ชนรุ่นหลัง การปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม การรักในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นต้น เพื่อเป็นการอนุรักษาและสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามนี้ให้คงอยู่ต่อไป

บุญเดือนต่างๆของอีสาน

             
                 ในขณะที่การเปลี่ยนผ่านในวงรอบเล็กลงมาอย่างการเปลี่ยนผ่านของแต่ละเดือนนั้น หลายประเทศอาจไม่ให้ความสนใจ แต่สำหรับชาวอีสานโบราณแล้วนี่คือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตวัฒนธรรม ซึ่งชาวอีสานได้บ่มเพาะภูมิปัญญา ก่อกำเนิดเป็นประเพณีสำคัญๆขึ้นมาและได้ร่วมสืบทอดจากบรรพบุรุษกันมาอย่างยาวนาน โดยพวกเขาเรียกขานประเพณีเหล่านี้รวมกันว่า "ฮีตสิบสอง"  ฮีตสิบสอง หมายถึง จารีตประเพณีประจำสิบสองเดือน ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ชาวบ้านจะได้มาร่วมชุมนุมและทำบุญในทุกๆ เดือนของรอบปี และถือเป็นจรรยาของสังคม ผู้ที่ฝ่าฝืนก็จะเป็นผู้ที่ ผิดฮีต หรือ ผิดจารีต นั่นเอง(หลายครั้ง ฮีตสิบสอง มักจะกล่าวควบคู่" คลองสิบสี่ "(คองสิบสี่) ที่เป็นดังแบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิต(คลอง=ครรลอง)แต่จะมุ่งเน้นไปทางศีลธรรมมากกว่าด้านอาชีพ) สำหรับประเพณีหลักๆ 12 เดือนตามฮีตสิบสองของชาวอีสานโบราณนั้นปรกอบด้วย
1. เดือนอ้าย มีการประกอบพิธีบุญเข้ากรรม ซึ่งเป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิด ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน และมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป ชาวบ้านก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีฟ้า ผีแถน ผีบรรพบุรุษอีกด้วย
เข้ากรรมหรือเข้าปริวาสกรรมของพระสงฆ์
2. เดือนยี่ ในฤดูหลังการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านจะทำบุญคูณข้าวหรือบุญคูณลาน โดยนิมนต์พระสวดมนต์เย็น เพื่อเป็นมงคลแก่ข้าวเปลือก รุ่งเช้าเมื่อพระฉันเช้าแล้วจะมีการทำพิธีสู่ขวัญข้าวเพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่โพสพที่ได้ล่วงเกิน ในขณะที่ปลักดำทำนา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ให้แก่เกษตรอีกด้วย
พิธีเรียกขวัญข้าว

3. เดือนสาม บุญข้าวจี่ มีพิธีเลี้ยงลาตาแฮก (พระภูมินา) เพราะขนข้าวขึ้นยุ้งแล้ว งานเอิ้นขวัญข้าวหรือกู่ขวัญข้าว เพ็ญเดือนสามทำบุญข้าวจี่ตอนเย็นทำมาฆบูชา ลงเข็นฝ้ายหาหลัวฟืน (ไม้เชื้อเพลิงลำไม้ไผ่ตายหลัว กิ่งไม้แห้ง-ฟืน)ตามประเพณีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวใส่ยุ้งแล้ว มีการทำบุญเซ่นสรวงบูชาเจ้าที่นา ซึ่งชาวอีสานเรียกว่าตาแฮก และทำบุญแผ่ส่วนกุศลให้ผีปู่ย่าตายาย อันเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยการทำข้าวจี่(ข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนสอดไส้น้ำตาลหรือน้ำอ้อยชุบไข่ปิ้งจนเหลือง) นำไปถวายพระพร้อมอาหารคาวหวานอื่นๆ 
บุญข้าวจี่
4. เดือนสี่ ทำบุญพระเวสฟังเทศน์มหาชาติ ในงานบุญนี้มักจะจัดเป็นงานวัดใหญ่โต และมีผู้นำของมาถวายพระ ซึ่งเรียกว่า "กัณฑ์หลอน" หรือถ้าจะถวายเจาะจงเฉพาะพระนักเทศน์ที่ตนนิมนต์มาก็จะเรียกว่า "กัณฑ์จอบ" เพราะต้องแอบซุ่มดูให้แน่เสียก่อนว่าใช่พระรูปที่จะถวายเฉพาะเจาะจงหรือไม่ในช่วงที่จัดงานมีการแห่พระอุปคุตเพื่อขอให้บันดาลให้ฝนตกด้วย
ทายกทายิกาฟังเทศมหาชาติ
5. เดือนห้า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หรือบุญสรงน้ำ หรือบุญเดือนห้า ซึ่งมีขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนห้า และถือเป็นเดือนสำคัญ เพราะเป็นเดือนเริ่มต้นปีใหม่ไทย การสรงน้ำจะมีทั้งการรดน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ และผู้หลักผู้ใหญ่ ด้วยน้ำอบน้ำหอมเพื่อขอขมาและขอพร ตลอดจนมีการทำบุญถวายทานเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าทำบุญอัฐินั่นเอง 
ก่อเจดีย์ทรายเป็นพระเพณีอย่างหนึ่งของคนอีสาน
6. เดือนหก ประเพณีบุญบั้งไฟและบุญวันวิสาขบูชา การทำบุญบั้งไฟเป็นการขอฝน พร้อมกับงานบวชนาค ซึ่งการทำบุญเดือนหกถือเป็นงานสำคัญก่อนการทำนา หมู่บ้านใกล้เคียงจะนำเอาบั้งไฟมาจุดประชันขันแข่งกัน หมู่บ้านที่รับเป็นเจ้าภาพจะจัดอาหาร เหล้ายามาเลี้ยง เมื่อถึงเวลาก็จะตั้งขบวนแห่บั้งไฟและรำเซิ้งออกไป ณ ลานที่จุดบั้งไฟ ด้วยความสนุกสนาน คำเซิ้งและการแสดงประกอบจะออกไปในเรื่องเพศ แต่จะไม่คิดเป็นเรื่องหยาบคายแต่อย่างใด ซึ่งประเพณีบุญบั้งไฟจะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุกปีที่จังหวัดยโสธร ส่วนการทำบุญวิสาขบูชานั้น จะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ฟังเทศน์ ช่วงเย็นมีการเวียนเทียนเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ
จุดบั้งไฟบูชาพญาแถน
7. เดือนเจ็ดบุญชำฮะ มีพิธีเลี้ยงตาแฮก ปู่ตา หลักเมือง งานบุญเบิกบ้านเบิกเมือง งานเข้านาคเพื่อบวชนาค
คติความเชื่อหลังจากหว่านข้าวกล้าดำนาเสร็จ มีการทำพิธีเซ่นสรวงเจ้าที่นา เพื่อความเป็นสิริมงคลให้ข้าวกล้าในนางงอกงาม บ้านที่กุลบุตรมีงานอุปสมบททดแทนบุญคุณบิดามารดาและเตรียมเข้ากรรมในพรรษา
พระสงฆ์พรหมน้ำพุทธมนต์เสาหลักบ้านหลักเมือง
8.เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษาซึ่งเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาโดยตรง ลักษณะการจัดงานจึงคล้ายกับทางภาคอื่นๆ ของประเทศไทย เช่น มีการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์สามเณร มีการฟังธรรมเทศนาตอนบ่าย ชาวบ้านหล่อเทียนใหญ่ถวายเป็นพุทธบูชาและเก็บไว้ตลอดพรรษา การนำไปถวายวัดจะมีขบวนแห่ฟ้อนรำเพื่อให้เกิดความคึกคักสนุกสนาน ประเพณีแห่เทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต้องเป็นที่จังหวัดอุบลราชธานี
ญาติโยมถวายผ้าจำนำพรรษาแด่พระสงฆ์
9. เดือนเก้า ประเพณีทำบุญข้าวประดับดิน เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับ เพื่อบูชาผีบรรพบุรุษและผีไร้ญาติ โดยชาวบ้านจะทำการจัดอาหาร ประกอบด้วยข้าว ของหวาน หมากพลู บุหรี่ ห่อด้วยใบตองกล้วย ร้อยเป็นพวง เตรียมไว้ถวายพระช่วงเลี้ยงเพล บางพื้นที่อาจจะนำห่อข้าวน้อย เหล้า บุหรี่ แล้วนำไปวางหรือแขวนไว้ตามต้นไม้ และกล่าว เชิญวิญญาณของบรรพบุรุษและญาติมิตรที่ล่วงลับไปมารับส่วนกุศลในครั้งนี้ ต่อมาใช้วิธีการกรวดน้ำหลังการถวายภัตตาหารพระสงฆ์แทน การทำบุญข้าวประดับดิน นิยมทำกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า 
ชาวบ้านำห่อข้าวมาวางไว้ในวัด เพื่อให้ผีบรรพบุรุษมารับ
10. เดือนสิบ ประเพณีทำบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก (สลากภัตร) ตรงกับวันเพ็ญ เดือนสิบ ผู้ถวายจะเขียนชื่อของตนลงในภาชนะที่ใส่ของทาน และเขียนชื่อลงในบาตร ภิกษุสามเณรรูปใดจับได้ สลากของใคร ผู้นั้นจะเข้าไปถวายของ เมื่อพระฉันเสร็จแล้วจะมีการฟังเทศน์ เพื่อเป็นการอุทิศให้แก่ผู้ตาย 
ชาวบ้านนำสลากมาให้พระสงฆ์จับ
11. เดือนสิบเอ็ด ประเพณีทำบุญออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด พระสงฆ์จะแสดงอาบัติ ทำการปวารณา คือ การเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ต่อมาเจ้าอาวาสหรือพระผู้ใหญ่จะให้โอวาทเตือนพระสงฆ์ ให้ปฏิบัติตนอย่างผู้ทรงศีล พอตกกลางคืนจะมีการจุดประทีป โคมไฟ นำไปแขวนไว้ตามต้นไม้ในวัดหรือตามริมรั้ววัด จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญจุดประทีป ในจังหวัดนครพนมจะมิ    ประเพณีการไหลเหลือไฟ ซึ่งตกแต่งด้วยตะเกียงน้ำมันก๊าดเป็นรูปต่างๆ สวยงามกลางลำน้ำโขง และมีหลายจังหวัดที่จัดงานแห่ปราสาทผึ้งขึ้น แต่ที่นับว่าเป็นต้นตำรับและมีความยิ่งใหญ่กว่าที่ใด ก็คือ จังหวัดสกลนคร
เวียนเทียนวันสำคัญทางพุทธศาสนา
12. เดือนสิบสอง เป็นเดือนส่งท้ายปีเก่า ซึ่งจะมีการทำบุญกองกฐิน โดยเริ่มตั้งแต่วันแรม หนึ่งค่ำ เดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบสอง แต่ชาวอีสานในสมัยก่อนนิยมเริ่มทำบุญทอดกฐินกันตั้งแต่ข้างขึ้นเดือนสิบสอง จึงมักจะเรียกบุญกฐินว่า บุญเดือนสิบสอง สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำใหญ่ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล จะมีการจัดส่วงเฮือ (แข่งเรือ) เพื่อระลึกถึง อุสุพญานาค บางแห่งจะมีการทำบุญดอกฝ้ายเพื่อใช้ทอเป็นผ้าห่มกันหนาวถวายพระเณร มีการจุดพลุตะไล และบางแห่งจะมีการทำบุญโกนจุกลูกสาว ซึ่งนิยมทำกันมากในสมัยก่อน
แห่กฐิน
คอง 14
                   คองสิบสี่  มักเป็นคำกล่าวควบคู่กับคำว่า ฮีตสิบสอง สันนิษฐานไว้ 2 ความหมายว่ามาจากคำว่า ครอง หรือครรลองเป็นคำนามหมายถึง ทางหรือแนวทางเช่น คลองธรรมหรือมาจากครองซึ่งเป็นคำกิริยามีความหมายถึงการรักษาไว้ เช่น คำว่า ครองเมือง ครองรักครองชีพโดยที่ชาวอีสานไม่นิยมออก เสียงคำกล้ำ ดังนั้น คองสิบสี่น่าจะมีความหมายถึงแนวทางที่ประชาชนทำไป ชาวบ้านหรือสงฆ์พึงปฏิบัติ 14 ข้อเพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งประเพณีและทำนองคลองธรรมอันดีงามของท้องถิ่นบ้านเมือง คอง 14 แบ่งโดยนัยไว้ 4 อย่างดังนี้

คองสิบสี่โดยนัยที่ 1
               กล่าวถึงผู้เกี่ยวข้องในครอบครัว สังคมตลอดจนผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมืองพึงปฏิบัติ เมื่อพูดถึงคองมักจะมีคำว่าฮีตควบคู่กันอยู่เสมอ แบ่งออกเป็น 14 ข้อ คือ
1. ฮีตเจ้าคองขุน สำหรับกษัตริย์หรือผู้ครองเมืองปกครองอำมาตย์ ขุนนางข้าราชบริพาร
2.  ฮีตเจ้าคองเพีย สำหรับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในการปกครองข้าทาสบริวาร
3. ฮีตไพร่คองนาย สำหรับประชาชนในการปฏิบัติตนตามกบิลบ้านเมืองและหน้าที่พึง ปฏิบัติต่อนาย 
4. ฮีตบ้านคองเมือง วัตรอันพึงปฏิบัติตามธรรมเนียมทั่วไปของพลเมืองต่อบ้านเมืองและส่วนรวม 
5. ฮีตผัวคองเมีย หลักปฏิบัติต่อกันของสามีภรรยา
6. ฮีตพ่อคองแม่ หลักปฏิบัติของผู้ครองเรือนต่อลูกหลาน
7. ฮีตลูกคองหลาน หลักปฏิบัติของลูกหลานต่อบุพการี
 8. ฮีตใภ้คองเขย หลักปฏิบัติของสะใภ้ต่อญาติผู้ใหญ่และพ่อแม่สามี
9. ฮีตป้าคองลุง หลักปฏิบัติของลุง ป้า น้า อา ต่อลูกหลาน
10. ฮีตคองปู่ย่าตาคองยาย หลักปฏิบัติของปู่ย่า ตายาย ให้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรต่อลูกหลาน
11. ฮีตเฒ่าคองแก่ หลักปฏิบัติของผู้เฒ่าในวัยชราให้เป็นที่เคารพเลื่อมในเหมาะสม
12. ฮีตคองเดือน การปฏิบัติตามจารีตประเพณีต่าง ๆ ในฮีตสิบสอง
13. ฮีตไฮ่คองนา การปฏิบัติตามประเพณีเกี่ยวกับการทำไร่ทำนา
14. ฮีตวัดคองสงฆ์ หลักปฏิบัติของภิกษุสามเณรให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยทั้งการช่วยทำนุบำรุงวัดวาอาราม 

คองสิบสี่โดยนัยที่ 2
               กล่าวถึงหลักการสำหรับพระมหากษัตริย์ในการปกครองทั้งอำมาตย์ราชมนตรีและประชาชนเพื่อความสงบสุขร่มเย็น โดยทั่วกัน
1. แต่งตั้งผู้ซื่อสัตย์สุจริต รู้จักราชการ บ้านเมือง ไม่ข่มเหงไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
2. หมั่นประชุมเสนามนตรี ให้ข้าศึกเกรงกลัว บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ประชาชนเป็นสุข
3. ตั้งมั่นในทศพิธราชธรรม
4. ถึงปีใหม่นิมนต์ภิกษุมาเจริญพุทธมนต์ สวดมงคลสูตรและสรงน้ำพระภิกษุ
5. ถึงวันปีใหม่ให้เสนา อำมาตย์นำเครื่องบรรณาการ น้ำอบ น้ำหอม มุรธาภิเษกพระเจ้าแผ่นดิน 
6. ถึงเดือนหกนิมนต์ พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาต่อพระเจ้า แผ่นดิน 
7. ถึงเดือนเจ็ด เลี้ยงท้าวมเหสักข์ หลักเมือง บูชาท้าวจตุโลกบาลเทวดาทั้งสี่
8. ถึงเดือนแปด นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทำพิธีชำระ และเบิกบ้านเมือง สวดมงคลสูตร 7 คืนโปรยกรวดทรายรอบเมืองตอกหลักบ้านเมืองให้แน่น 
9. ถึงเดือนเก้า ประกาศให้ประชาชนทำบุญข้าวประดับดิน อุทิศส่วนกุศลแก่ญาติพี่น้องผู้ ล่วงลับ 
10. วันเพ็ญเดือนสิบ ประกาศให้ประชาชนทำบุญข้าวสาก  จัดสลากภัตต์ ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ 
11. วันเพ็ญเดือนสิบเอ็ด ทำบุญออกพรรษา ให้สงฆ์ปวารณามนัสการและมุรธาภิเษก พระธาตุหลวง พระธาตุภูจอมศรี และประกาศให้ประชาชนไหลเรือไฟเพื่อบูชาพญานาค 
12. เดือนสิบสองให้ไพร่ฟ้าแผ่นดินรวมกันที่พระลานหลวงแห่เจ้าชีวิตไปแข่งเรือถึงวันเพ็ญพร้อมด้วยเสนาอำมาตย์นิมนต์และภิกษุ 5 รูป นมัสการพระธาตุหลวงพร้อมเครื่องสักการะ 
13.ถึงเดือนสิบสอง ทำบุญกฐิน ถวายผ้ากฐินตามวัดต่าง ๆ
14. ให้มีสมบัติอันประเสริฐ คูนเมืองทั้ง 14 อย่างอันได้แก่ อำมาตย์ ข้าราชบริพารประชาชน พลเมือง ตลอดจนเทวดาอารักษ์เพื่อค้ำจุนบ้านเมือง 

คองสิบสี่โดยนัยที่ 3 
          เป็นจารีตประเพณีของประชานและธรรมที่พระเจ้าแผ่นดินพึงยึดถือ
1. เดือนหกขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีย์ทรายทุกปี
2. เดือนหกหน้าใหม่ เกณฑ์คนสาบานตนทำความซื่อสัตย์ต่อกันทุกคน
3. ถึงฤดูทำนา คราด หว่าน ปัก ดำ ให้เลี้ยงตาแฮก ตามกาลประเพณี
4. สิ้นเดือนเก้าทำบุญข้าวประดับดินเพ็ญเดือนสิบทำบุญข้าวสาก อุทิศส่วนกุศลให้ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ 
5. เดือนสิบสองให้พิจารณาทำบุญกฐินทุกปี
6. พากันทำบุญผะเหวด ฟังเทศน์ผะเหวดทุกปี
7. พากันเลี้ยงพ่อ แม่ที่แก่เฒ่า เลี้ยงตอบแทนคุณที่เลี้ยงเราเป็นวัตรปฏิบัติไม่ขาด
8. ปฏิบัติเรือนชานบ้านช่อง เลี้ยงดูสั่งสอน บุตรธิดา ตลอดจนมอบ มรดกและหาคู่ครองเมื่อถึงเวลาอันควร 
9. เป็นเขย่าดูถูกลูกเมีย เสียดสีพ่อตาแม่ยาย
10. รู้จักทำบุญให้ทาน รักษาศีล ไม่พูดผิดหลอกลวง
11. เป็นพ่อบ้านให้มีพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
12. พระมหากษัตริย์ต้องรักษาทศพิธราชธรรม
13. พ่อตา แม่ยาย ได้ลูกเขยมาสมสู่ให้สำรวมวาจา อย่าด่าโกรธา เชื้อพงศ์พันธ์อันไม่ดี
14. ถ้าเอามัดข้าวมารวมกองในลานทำเป็นลอมแล้ว ให้พากันปลงข้าวหมกไข่ ทำตาเหลวแล้วจึงพากันเคาะฟาดตี 

คองสิบสี่โดยนัยที่ 4 
1. ให้พระภิกษุสงฆ์ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและรักษาศีล 227 ข้อเป็นประจำทุกวัน 
2. ให้รักษาความสะอาดกุฏิ วิหาร โดยปัดกวาดเช็ดถูกทุกวัน
3. ให้ปฏิบัติกิจนิมนต์ของชาวบ้านเกี่ยวกับการทำบุญ
4. ถึงเดือนแปด ตั้งแต่แรมหนึ่งค่ำเป็นต้นไปต้องจำพรรษา ณ วัดใดวัดหนึ่งไปจนถึงวันแรมหนึ่งคำเดือนสิบเอ็ด 
5. เมื่อออกพรรษาแล้วพอถึงฤดูหนาว (เดือนอ้ายภิกษุผู้มีศีลหย่อนยานให้หมวดสังฆาทิเสสต้องอยู่ปริวากรรม 
6. ต้องออกเที่ยวบิณฑบาต ทุกเช้าอย่าได้ขาด
7. ต้องสวดมนต์และภาวนาทุกคืนอย่าได้ละเว้น
8. ถึงวันพระขึ้นสิบห้าค่ำหรือแรมสิบสี่ค่ำ (สำหรับเดือนคี่ต้องเข้าประชุมทำอุโบสถสังฆกรรม 
9. ถึงปีใหม่ (เดือนห้า วันสงกรานต์นำทายก ทายิกา เอาน้ำสรงพระพุทธรูปและมหาธาตุเจดีย์     
10. ถึงศักราชใหม่ พระเจ้าแผ่นดินไหว้พระ ให้สรงน้ำในพระราชวัง
11. เมื่อมีชาวบ้านเกิดศรัทธานิมนต์ไปกระทำการใด ๆ ที่ไม่ผิดหวังพระวินัยก็ให้รับนิมนต์
12. เป็นสมณะให้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดวาอาราม พระมหาธาตุเจดีย์
13. ให้รับสิ่งของที่ทายก ทายิกานำมาถวายทาน เช่น สังฆทานหรือสลากภัตต์
14. เมื่อพระเจ้าแผ่นดินหรือเสนาข้าราชการมีศรัทธา นิมนต์ไปประชุมกันในพระอุโบสถแห่งใด ๆ ในวันเพ็ญเดือนสิบเอ็ดต้องไปอย่าขัดขืน

ประเพณีของชาวอีสาน


ประเพณีของชาวอีสาน
ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือ และตะวันออกของภาค โดยทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือ และภาคกลาง ซึ่งเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสาน เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูลอีสาน มีเนื้อที่ประมาณ 170,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย  โดยภาคอีสานตั้งแต่สมัยโบราณกาลจะนับถือศาสนาพุทธ ความคู่กับลัทธิผี ผนวกกับสภาพแวดล้อมทางสังคมจึงเกิดข้อวัตรปฏิบัติเป็นแบบแผนเดียวกันซึ่งนั่นก็คือ ประเพณี ประเพณีทางภาคอีสานนี้ส่วนมากจะเน้นเรื่องความกตัญญูกตเวทีและความสามัคคีของคนในชุมชน ทั้งยังเป็นกุศโลบายในการสร้างคุณงามความดีทางพระพุทธศาสนา ประเพณีของชาวอีสานเป็นสิ่งที่คนอีสานเคารพ รัก และหวงแหนเป็นอย่างมาก เช่นการแต่งกาย คนอีสานจะให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ การแต่งกายเข้าวัดจะต้องแต่งกายให้เรียบร้อยมิดชิด ไม่ใส่กางเกงขาสั้น เสื้อเกาะอก สีฉุดฉาด เพราะถือว่าไม่ให้ความเคารพต่อสถานที่   การถักทอผ้า ในสมัยก่อนยังไม่มีเครื่องจักรจึงต้องทอผ้าด้วยมือ ส่วนมากเสื้อผ้าในทางภาคอีสานจะเป็นผ้าฝ้าย ผ้าไหม ถักทอด้วยลวดลายที่งดงามแต่เรียบง่าย และวัฒนธรรมการกินอาหาร อาหารของภาคอีสานจะเป็นอาหารป่าเป็นส่วนมากเพราะในภาคอีสานมีพื้นที่ส่วนมากเป็นป่าเขา เรื่องรสชาตินั้นคนอีสานจะเน้นการกินเผ็ด เพราะถือว่าเป็นการทำให้ร่างกายแข็งแรง การกินอาหารคนอีสานจะกินข้าวเหนียว ใช้มือไม่ใช้ช้อนเพราะเป็นการสะดวกเรียบง่าย  คนอีสานยังมีประเพณีที่ดีงามและทำกันเป็นประจำจนถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะละเลย นั่นก็คือ ฮีต 12 คอง 14 













วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ความเป็นมาของประเพณีอีสาน


ประเพณี(tradition)
             ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคมรับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิตประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆในภาคอีสานสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมของชาวอีสานและชี้ให้เห็นว่าชาวอีสานให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้นส่วนคำว่า ประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน 

ความหมายของประเพณี
                    พระยาอนุมานราชธน ได้ให้ความหมายของคำว่าประเพณีไว้ว่า ประเพณี คือความประพฤติที่ชนหมู่หนึ่งอยู่ในที่แห่งหนึ่งถือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียวกัน และสืบต่อกันมานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออกนอกแบบก็ผิดประเพณีหรือผิดจารีตประเพณี คำว่าประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถานได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆออกได้เป็น
 ขนบ ความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง
ธรรมเนียม มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่าความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตาม

ความเป็นมาของประเพณี
ประเพณีมีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยมโดยความเชื่อของคนในสังคมต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์นั้นๆ เช่นอำนาจของดินฟ้าอากาศและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุต่างๆฉะนั้นเมื่อเวลาเกิดภัยพิบัติขึ้นมนุษย์จึงต้องอ้อนวอนร้องขอในสิ่งที่ตนคิดว่าจะช่วยได้พอภัยนั้นผ่านพ้นไปแล้ว มนุษย์ก็แสดงความรู้คุณต่อสิ่งนั้นๆด้วยการทำพิธีบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ตามความเชื่อ ความรู้ของตนเมื่อความประพฤติ
นั้นคนส่วนรวมสังคมยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมหรือเป็นระเบียบแบบแผน และทำจนเป็นพิมพ์เดียวกันสืบต่อๆกัน

จนกลายเป็นประเพณีของสังคมนั้นๆประเพณีและวัฒนธรรม เมื่อว่าโดยเนื้อความก็เป็นสิ่งอย่างเดียวกัน คือเป็นสิ่งที่ไม่ใช่มีอยู่ในธรรมชาติโดยตรงแต่เป็นสิ่งที่สังคมหรือคนในส่วนรวมร่วมกันสร้างให้มีขึ้นแล้วถ่ายทอดให้แก่กันได้ด้วยลักษณะและวิธีการต่างๆว่าโดยเนื้อหาของประเพณีและวัฒนธรรมที่อยู่ในจิตใจของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องความคิดเห็น ความรู้สึกความเชื่อ ซึ่งสะสมและสืบต่อร่วมกันมานานในส่วนรวม จนเกิดความเคยชินเรียกว่า นิสัยสังคมหรือประเพณี ประเภทของประเพณี
ประเภทของประเพณี
ประเภทของประเพณีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
จารีตประเพณี
                  จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หมายถึงสิ่งซึ่งสังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคงเป็นเรื่องของความผิดถูก มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วยดังนั้นสมาชิกในสังคมต้องทำ ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่วจะต้องถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น เช่นลูกหลานต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่าถ้าใครไม่เลี้ยงดูถือว่าเป็นคนเนรคุณหรือลูกอกตัญญูจารีตประเพณีของแต่ละสังคมนั้นย่อมไม่เหมือนกันเพราะมีค่านิยมที่ยึดถือต่างกันการนำเอาจารีตประเพณีของตนไปเปรียบเทียบกับของคนอื่นแล้วตัดสินว่าดีหรือเลวกว่าของตนย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมตลอดจนความเชื่อของแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันไป
 ขนบประเพณี
             ขนบประเพณี หรือสถาบัน หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบต่อกันมาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทางตรง ได้แก่ประเพณีที่มีการกำหนดเป็นระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติอย่างชัดแจ้งว่าบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร เช่น สถาบันโรงเรียน มีโรงเรียน มีผู้สอน มีผู้เรียนมีระเบียบการรับสมัคร การเข้าเรียน การสอบไล่ เป็นต้น ทางอ้อม ได้แก่ประเพณีที่รู้กันโดยทั่วๆไป โดยไม่ได้วางระเบียบไว้แน่นอนแต่ปฏิบัติไปตามคำบอกเล่าหรือตัวอย่างจากที่ผู้ใหญ่หรือบุคคลในสังคมปฏิบัติ เช่นประเพณีเกี่ยวกับการเกิด การตาย การแต่งงาน ซึ่งเป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิตหรือประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ตรุษ สารท การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
ธรรมเนียมประเพณี
         ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญที่ทุกคนควรทำมีความผิดถูกเหมือนจารีตประเพณีเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนปฏิบัติกันทั่วไปจนเกิดความเคยชินและไม่รู้สึกเป็นภาระหน้าที่เพราะเป็นสิ่งที่มีมานานและใช้กันอย่างแพร่หลายส่วนมากเป็นมารยาทในด้านต่างๆ เช่น การแต่งกาย การพูด การรับประทานอาหารเป็นต้นธรรมเนียมประเพณีเป็นเรื่องที่ทุกคนควรทำแม้มีผู้ฝ่าฝืนหรือทำผิดก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญแต่อาจถูกตำหนิว่าเป็นคนไม่ได้รับการศึกษา ไม่มีมารยาทไม่รู้จักกาลเทศะ

สรุปประเพณีอีสาน

สรุป    ประเพณีมีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยมโดยความเชื่อของคนในสังคมต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์นั้นๆ ตาม...